ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ

นักวิชาการ แนะ ดึงคนนอกทำกฎหมายลูก รองรับ พ.ร.บ.ศึกษา

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการด้านการศึกษา เปิดเผยว่า ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ อยู่ระหว่างการผลักดันให้ที่ประชุมรัฐสภา พิจารณาในวาระ 2 และ 3 ซึ่งเป็นกฎหมายสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา

แต่ที่ผ่านมาพบบทเรียนของการจัดทำกฎหมายการศึกษา คือประชาชนต้องระมัดระวัง และต้องติดตามการร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ และกฎหมายลูกที่มีกว่า 10 ฉบับให้ดี ไม่เช่นนั้นระบบราชการนิยม อาจกลับมายิ่งใหญ่ ทำให้มีระบบราชการแข็งตัว ไม่ยืดหยุ่น ไม่ได้เน้นคุณภาพการศึกษา ไม่ให้ความสำคัญกับโรงเรียนมากพอ

ดังนั้น แม้รัฐจะลงทุนกับการศึกษาในอัตราที่สูงลำดับต้นๆ ของประเทศ แต่ผลผลิตกลับต่ำสุด ขณะนี้มีการตั้งคณะทำงานร่างกฎหมายลูกให้สอดคล้องกับร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติแล้ว สิ่งที่น่าห่วงคือ มีข้าราชการเข้ามาร่วมเป็นกรรมการจัดทำเกือบทั้งหมด หากเป็นเช่นนี้ การปฏิรูปการศึกษาจะไม่เกิดผล

“การจัดทำกฎหมายลูกเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก ผมแนะนำให้ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) หาคนมาจัดทำกฎหมายลูกให้ดี อย่าเอาราชการส่วนกลางเข้ามาเป็นศูนย์กลาง และควรนำกฎหมายลูกที่อยู่ระหว่างจัดทำออกสู่สาธารณะ ให้ประชาชนรับทราบ และเปิดให้ประชาชน ภาคประชาสังคม นักวิชาการ ร่วมกันประชาพิจารณ์ ไม่ใช่ทำกันเงียบๆ ในกลุ่มข้าราชการเหมือนที่ผ่านมาเท่านั้น” ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง

ศ.ดร.สมพงษ์กล่าวต่อว่า ประเด็นสำคัญในการขับเคลื่อนกฎหมายการศึกษาอีกเรื่องหนึ่ง คือควรจะมีองค์กรอิสระด้านการปฏิรูปการศึกษา โดยให้คณะกรรมการชุดนี้ มีอำนาจในการเสนอ หรือเปลี่ยนแปลงกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้มีตัวแทนจากทุกภาคส่วน เช่น ข้าราชการ นักวิชาการ สื่อมวลชน ประชาชน นักเรียน นักศึกษา เป็นต้น โดยคณะกรรมการชุดนี้จะควรจะดูแลกำกับการปฏิรูปการศึกษาอย่างน้อย 10 ปี

“ถ้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เตรียมการเรื่องเหล่านี้ ท้ายสุดจะถูกระบบข้าราชการครอบงำ ทำให้การจัดการศึกษาเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ทั้งนี้ ผมเห็นว่าการจัดทำกฎหมายลูก โดยเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับโครงสร้างของ ศธ.ผู้ที่ร่างกฎหมายจะต้องกล้าเปลี่ยนบทบาทของ ศธ.จากการเป็นผู้จัดการศึกษา มีหน้าที่กำหนดนโยบาย กำกับติดตาม และกระจายอำนาจเปิดกว้างให้เอกชน ท้องถิ่น จังหวัด เป็นผู้จัดการศึกษาในพื้นที่ของตน พร้อมกับต้องกล้าผ่าตัด ค่อยๆ ยุบสำนักต่างๆ ที่ไม่จำเป็น ที่ทำให้ ศธ.เทอะทะ อุ้ยอ้าย ซ้ำซ้อน และไม่เกิดประโยชน์ สาเหตุที่ต้องค่อยๆ ยุบส่วนซ้ำซ้อน จะช่วยลดแรงต้านของข้าราชการได้ หากทำสำเร็จ จะทำให้ระบบราชการเล็กลง จะมีงบประมาณเหลือใช้ปฏิรูปการเรียนรู้ พัฒนาโรงเรียนเป็นนิติบุคคล ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา จัดทำดิจิทัลแพลตฟร์อมด้านการศึกษา” ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ ecoitaly.net

แทงบอล

Releated