การศึกษาที่ดีที่สุดในโลก

ประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก

เมื่อว่าด้วยเรื่องของการศึกษาแล้ว แต่ละสถาบันก็ต้องมีคุณภาพ แต่การที่สถาบันจะมีคุณภาพได้ส่วนหนึ่งต้องมาจากการมีระบบการศึกษาที่ดีก่อน วันนี้เราจะพามาดูการจัดอันดับของ MBCTime กันว่าประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลกทั้ง 10 ประเทศมีที่ไหนบ้าง

1. สวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland)

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ค่อนข้างสูง เด็กสวิตจะต้องจบการศึกษาระดับมัธยมตอนต้น จึงจะถือว่าจบการศึกษาภาคบังคับ ส่วนระดับอนุบาลนั้นไม่ถือว่าเป็นการศึกษาภาคบังคับ จะเข้าเรียนอนุบาลก่อนหรือไม่ก็ได้ กล่าวกันว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นต้นกำเนิดของวิชาการโรงแรม จึงทำให้สาขานี้มีนักเรียนไทยให้ความสนใจไปเรียนต่อมากที่สุดนั่นเอง

2. สาธารณรัฐเช็ก (czech republic)

แม้จะเป็นประเทศเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ใจกลางยุโรป แต่สาธารณรัฐเช็กก็เป็นที่ยอมรับกันในระดับสากลว่าเป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ มีเรียนฟรีสำหรับการศึกษาภาคบังคับไปจนถึงอายุ 15 ปี หลักการเรียนรู้เน้นความเข้าใจของผู้เรียนเป็นหลักซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนชาวเช็ก ซึ่งระบบการศึกษาของประเทศมีทั้งสิ้น 5 หน่วยงาน คือ โรงเรียนอนุบาล, ประถมศึกษา, มัธยมศึกษา, วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย

3. เบลเยี่ยม (Belgium)

เบลเยี่ยมเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก เน้นในเรื่องของมาตรฐานการศึกษา และพยายามเปิดโอกาสให้ประชาชนในประเทศทุกคนมีสิทธิทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน จึงไม่มีการสอบเข้า และไม่มีการเก็บค่าเล่าเรียนในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมไปถึงความหลากหลายของทุนการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยอีกด้วย ระบบการเรียนการสอนจึงมีความแตกต่างตามภูมิภาคทั้งภาษาดัตช์ เยอรมัน และฝรั่งเศส

การศึกษาที่ดีที่สุดในโลก

4. อิสราเอล (Israel)

อิสราเอลถือว่าเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ค่อนข้างสูงประเทศหนึ่ง โดยเฉพาะในด้านของการศึกษา ในทัศนะคติของคนอิสราเอลจะถือว่าการศึกษาถือเป็น “มรดกที่ล้ำค่า” การศึกษาภาคบังคับทั้งหมด 12 ปี (ตั้งแต่อายุ 5-16 ปี) และรัฐได้จัดการศึกษาฟรีจนถึงอายุ 18 ปี โดยการศึกษาส่วนใหญ่ในประเทศจะใช้เป็นภาษาฮินดีและภาษาอาหรับเป็นหลัก

5. นิวซีแลนด์ (New Zealand)

ในปี 2014-15 รัฐบาลของประเทศนิวซีแลนด์ได้ทุ่มงบประมาณเพื่อพัฒนาในด้านการศึกษากว่า 13,183 ล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ จึงไม่แปลกใจว่าทำไมประเทศนิวซีแลนด์ถึงได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่ามีระบบการศึกษาที่ดีและมีมาตรฐาน ผลการสอบ PISA ในด้านการอ่านและวิทยาศาสตร์ อยู่ในอันดับ 7 และในขณะที่คณิตศาสตร์อยู่ในอันดับที่ 13 จากประเทศสมาชิกทั้งหมด 34 ประเทศ

6. ออสเตรเลีย (Australia)

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักที่ใช้ในระบบการศึกษาของประเทศออสเตรเลีย และยังมีสถิติด้านการศึกษาที่น่าสนใจอีกคือ ประชากรชาวออสเตรเลียมีอัตราการรู้หนังสือเบื้องต้นในระดับประถมเกือบ 2 ล้านคน รวมแล้วมีอัตราการรู้หนังสือถึง 99% และการประเมินการศึกษาของประเทศออสเตรเลีย PISA ในส่วนของวิชาการอ่าน, วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 6, 7 และ 9 ตามลำดับ ประเทศออสเตรเลียยังเป็นประเทศยอดนิยมสำหรับนักศึกษาไทยที่นิยมไปเรียนต่อมากที่สุดอีกด้วย

7. สหรัฐอเมริกา (USA)

การศึกษาภาคบังคับนักเรียนอเมริกันทุกคนจะได้รับสิทธิเรียนฟรีจนกระทั่งถึงเกรด 12 หรือจบในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย บรรยากาศการศึกษาในห้องเรียนของชาวอเมริกันนั้น นักศึกษาจะต้องมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น โต้เถียงเพื่อแสดงจุดยืนของตนเอง มีส่วนร่วมในการสนทนา และนำเสนองานของตน ซึ่งนักศึกษาชาวต่างชาติส่วนใหญ่จะเห็นว่าบรรยากาศภายในห้องเรียนเหล่านี้เป็นสิ่งที่น่าตื่นใจที่สุดของระบบการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา

8. รัสเซีย (Russia)

รัสเซียเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษามาตั้งแต่ยุคสหภาพโซเวียต ชาวรัสเซียส่วนมากจะสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคน และยังเป็นนักอ่านหนังสือพิมพ์มากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก มีการศึกษาหาความรู้กันอย่างจริงจัง ทำให้อัตราการรู้หนังสือของประชากรประเทศรัสเซียคิดเป็น 100% เต็ม อีกทั้งมีวิชาการ ความรู้และเทคโนโลยีเป็นของตนเองมาเป็นเวลานาน รวมถึงค่าใช้จ่ายทางด้านการศึกษานั้นก็นับว่าไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ อีกด้วย

9. เยอรมนี (Germany)

เยอรมันเป็นประเทศหนึ่งในกลุ่ม OECD ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษาเป็นอย่างมาก ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็ก ๆ อยู่ในระดับสูงทั้งในระดับมัธยมศึกษา และในระดับอุดมศึกษา โดยการศึกษาภาคบังคับเริ่มตั้งแต่อายุ 6-18 ปี โรงเรียนส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนรัฐบาล เรียนฟรีไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมัน หันมาพัฒนาการศึกษา และการวิจัยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการรวมประเทศ มีมหาวิทยาลัยทั้งหมดเกือบ 120 แห่ง

10. เดนมาร์ก (Denmark)

ประเทศเดนมาร์ก มีกฎหมายบังคับการศึกษาแต่ไม่บังคับการไปโรงเรียน เด็กทุกคนจะต้องไปเรียนเมื่อมีอายุครบ 7 ปี การศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ไม่รวมชั้นเด็กเล็ก ระบบการศึกษาของเดนมาร์กจะให้ความสำคัญกับการแนะแนวมาก เพื่อให้เด็กทุกคนพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้องและเหมาะกับศักยภาพของตนเอง และเด็ก ๆ ยังสามารถเลือกการศึกษาและโรงเรียนของตนเองได้อีกด้วย

ถึงแม้ระบบการศึกษาของเมืองไทยจะไม่ติดอันดับ 10 ประเทศของโลก แต่ก็เชื่อว่าเราสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นกว่านี้ได้อีกแน่ ถ้าทุกคนในประเทศช่วยกัน ไม่แน่นะ อีกไม่กี่ปีข้างหน้า ประเทศไทย อาจจะติดอันดับกับเขาบ้างก็ได้

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ ecoitaly.net

Releated